จากรายงานของสำนักงานประกันสังคม ในปี พ.ศ. 2567 มีผู้ใช้สิทธิผ่าตัดกระเพาะอาหารลดน้ำหนักมากถึง 5,200 ราย เพิ่มขึ้น 2,405 รายจากปี พ.ศ. 2566 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 50% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นจำนวนที่น่าตกใจ เพราะโรคอ้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และผู้ป่วยโรคอ้วนมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป
สิทธิประกันสังคมกับการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนัก
ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักเพื่อรักษาโรคอ้วนรุนแรง โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยภาวะโรคอ้วนทุพพลภาพที่ไม่สามารถลดน้ำหนักได้ด้วยวิธีปกติ และมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตามเกณฑ์ดังนี้:
ผู้ป่วยโรคอ้วนทุพพลภาพที่เข้าเกณฑ์ สามารถแจ้งสิทธิประกันสังคมเพื่อเข้ารับการรักษาได้ที่สถานพยาบาลคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม โดยแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรมจะตรวจสุขภาพ และคำนวณระดับความอ้วนตามเกณฑ์ BMI ขั้นต้น ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยทดลองลดน้ำหนักด้วยวิธีทั่วไปก่อน แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถลดน้ำหนักลงได้ จึงแพทย์จะพิจารณาข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดกระเพาะรักษาภาวะโรคอ้วนรุนแรง หลังจากนั้น ผู้ประกันตนต้องลดน้ำหนักภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ โดยลดน้ำหนักให้ได้ 5-10% ก่อนวันผ่าตัด ระหว่างนั้น แพทย์จะแจ้งขั้นตอนการผ่าตัด วิธีการดูแลตัวเอง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด
นอกจากนี้ ผู้ประกันตนสามารถให้สถานพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม ส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่สามารถดูแลรักษาโรคอ้วนได้อย่างครบวงจร หรือทำการย้ายสิทธิไปยังสถานพยาบาลดังกล่าว เพื่อเข้ารับการผ่าตัด และต้องรักษาที่โรงพยาบาลนี้อย่างน้อย 2 ปี เพื่อติดตามอาการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
ข้อมูลเพิ่มเติม: สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือสายด่วน 1506
“คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มต้นที่ความกล้าที่จะเปลี่ยนตัวเอง”