1. โรคหัวใจ
ความอ้วน หรือการมีไขมันเลวในร่างกายสะสมเป็นจำนวนมากก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่อ้วนลงพุง จะยิ่งเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น เนื่องจากไขมันที่สะสมอยู่ในช่องท้อง ในร่างกาย ใต้ผิวหนัง อาจไปเกาะตามผนังหลอดเลือด หรือขัดขวางการทำงานของเส้นเลือด ก่อให้เกิดภาวะไขมันอุดตันในหลอดเลือด ส่งผลให้หัวใจต้องสูบฉีดแรงขึ้น ทำงานหนักขึ้น และหากปล่อยภาระให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักเป็นเวลานานก็อาจส่งผลให้เกิดโรคหัวใจวายได้
2. โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง เช่น โรคเส้นเลือดในสมองตีบ โรคเส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลัน ก็มีสาเหตุมาจากความอ้วนเช่นกันค่ะ โดยสาเหตุก็มาจากไขมันที่อุดตันตามหลอดเลือดในอวัยวะต่าง ๆ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองเกิดการหยุดชะงัก สมองเกิดภาวะขาดเลือดกะทันหัน เสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้หากเข้ารับการรักษาไม่ทัน หรืออาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตหากรอดมาได้
3. โรคความดันโลหิตสูง
เมื่อไขมันในร่างกายมีมากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการทำงานของหลอดเลือด ต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ผลกระทบจากไขมันส่วนเกินและความอ้วนนี้ อาจเป็นสาเหตุสำคัญของโรคความดันโลหิตสูงได้
4. โรคเบาหวาน
ไขมันตัวร้ายที่สะสมอยู่ในร่างกายของคนอ้วน หรือแม้แต่คนที่ผอมทว่ามีพุงยื่นออกมา ไขมันสะสมในร่างกายเหล่านี้เป็นเหตุให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน กล่าวคืออินซูลินไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานของร่างกายได้ ก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคเบาหวาน ขณะที่ไขมันในช่องท้องยังจะไปขัดขวางการเผาผลาญน้ำตาลในเซลล์ ทำให้ตับต้องทำงานหนักมากขึ้นเพื่อผลิตอินซูลิน น้ำตาลในเลือดจึงเพิ่มสูง นำไปสู่โรคเบาหวาน
5. ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
คนอ้วนส่วนใหญ่มักจะมีปัญหานอนกรน ซึ่งในทางการแพทย์จะเรียกการนอนกรนว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อันเกิดจากการที่ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ระบบหายใจผิดปกติ และในบางรายอาจหยุดหายใจขณะหลับไปเลยก็ได้ ซึ่งการที่ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ก็มักจะพบว่าเกิดจากการสะสมของไขมันในช่องท้อง และพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่อ้วนลงพุง
6. โรคเข่าเสื่อม
การที่ร่างกายมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน แน่นอนว่าระบบข้อต่าง ๆ ต้องแบกรับน้ำหนักตัวเราอย่างปฏิเสธไม่ได้
ดัชนีมวลกาย หรือ BMI ย่อมาจาก Body Mass Index เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณเพื่อหาน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น และประมาณระดับไขมันในร่างกายโดยใช้น้ำหนักตัว และส่วนสูง การคำนวณดัชนีมวลกายไม่ใช่การวัดโดยตรงแต่ก็เป็นตัวชี้วัดไขมันในร่างกายที่ค่อนข้างเชื่อถือได้สำหรับคนส่วนใหญ่
เรามีมีทีมแพทย์เฉพาะทางที่พร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษาเพื่อประสิทธิภาพและผลการรักษาที่ดีในระยะยาว
วันจันทร์ - ศุกร์
วันเสาร์ - อาทิตย์