สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Institutes of Health; NIH) ได้กำหนดข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดรักษาโรคอ้วนขึ้น โดยการผ่าตัดเป็นการรักษาหลักใน ผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI)> 40 kg/m2 หรือ ผู้ป่วยที่ BMI 32.5 - 40 kg/m2 และมีโรคร่วมที่สำคัญอย่างน้อย 1 อย่าง
ในปัจจุบันคนเอเชียมีความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง และความเสี่ยงของการเสียชีวิตสูง ในกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า เมื่อเทียบกับคนยุโรปและอเมริกา จึงมีการเริ่มให้การรักษาที่เกณฑ์ดัชนีมวลกายต่ำกว่า โดยข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดของคนเอเชีย มีดังนี้
1. ผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 37.5 kg/m2 ขึ้นไป
2. ผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 32.5 kg/m2 ขึ้นไป ร่วมกับมีโรคร่วมที่เกิดจากภาวะอ้วน
3. ผู้ป่วยที่มีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 27.5 kg/m2 ขึ้นไป ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus) ที่ให้การรักษาด้วยยาทั้งยารับประทานและยาฉีด (Insulin) แล้วยัง ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี (Poor glycemic control) หรือ โรคกลุ่ม Metabolic syndrome ที่ล้มเหลวจากการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
4. ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีคุมอาหาร ออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต อย่างน้อย 3 - 6 เดือนแล้วยังไม่ได้ผล
5. ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติ และให้ความร่วมมือในการรักษาได้
ดัชนีมวลกาย หรือ BMI ย่อมาจาก Body Mass Index เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณเพื่อหาน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น และประมาณระดับไขมันในร่างกายโดยใช้น้ำหนักตัว และส่วนสูง การคำนวณดัชนีมวลกายไม่ใช่การวัดโดยตรงแต่ก็เป็นตัวชี้วัดไขมันในร่างกายที่ค่อนข้างเชื่อถือได้สำหรับคนส่วนใหญ่
เรามีมีทีมแพทย์เฉพาะทางที่พร้อมให้คำปรึกษาและวางแผนการรักษาเพื่อประสิทธิภาพและผลการรักษาที่ดีในระยะยาว
วันจันทร์ - ศุกร์
วันเสาร์ - อาทิตย์