PROMOTION โปรโมชั่นพิเศษ! ผ่อนชำระ 0% 10 เดือน ผ่าตัดกระเพาะลดน้ำหนักสำหรับท่านที่มีบัตรเครดิต

ข้อควรระวังหลังผ่าตัด

ข้อควรระวังหลังการผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อน

การผ่าตัดลดความอ้วนก็เจอภาวะแทรกซ้อนได้เหมือนการผ่าตัดทั่วไป เช่นแผลติดเชื้อ เลือดออก สำหรับภาวะแทรกซ้อนที่จำเพาะกับการผ่าตัด เช่น

กระเพาะอาหารรั่วหรือรอยต่อลำไส้รั่ว
ภาวะกรดไหลย้อน
มีเลือดออกตามรอยตัดกระเพาะ
มีโอภาสภาวะขาดสารอาหารและขาดวิตามินบางชนิด

การดูแลหลังผ่าตัด

หลังเข้ารับการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้อง
1. รับสารอาหารและน้ำทางสายน้ำเกลือจนกว่าจะรับประทานอาหารเองได้
2. ใส่ปลอกสวมขาเพื่อป้องกันภาวะแข็งตัวในเส้นเลือดดำ โดยถอดออกเมื่อผู้ป่วยขยับตัวได้เอง และเมื่อขยับตัวได้ควรเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็ว เพื่อให้ทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติภายใน 2 – 3 วัน
3. หากมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ปรึกษาแพทย์ทันที เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ > 120 ครั้ง ต่อนาที, มีไข้ 37.8 องศาเซลเซียส หรือมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
4, ควบคุมอาหารตามที่นักกำหนดอาหารวางแผนและให้คำปรึกษาอย่างเคร่งครัด

การรับประทานอาหารและวิตามินเสริมหลังผ่าตัด

ระยะหลังผ่าตัด 1-2 วัน

หลังการผ่าตัดเป็นอาหารเหลวใสไม่ใส่น้ำตาล เช่นน้ำกระเจี๊ยบ น้ำใบเตย

ระยะหลังผ่าตัด 3-14 วัน

ระยะนี้สามาถทานอาหารเหลวข้นแบ่งกินประมาณ 4-6 มื้อ เช่น นมขาดมันเนย โยเกิร์ตที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำ โปรตีนผงผสมน้ำ

ระยะหลังผ่าตัด 14-28 วัน

ระยะนี้สามารถทานอาหารเนื้อข้น กากใยน้อย ไขมันและน้ำตาลต่ำ เน้นปริมาณโปรตีนเป็นหลัก เช่น ซุปข้นไก่ ซุปข้นเห็ด ซุปข้าวโพด ไข่คนนุ่ม ๆ ซุปผักใสใส่เต้าหู้อ่อน อาหารปั่นใส่เนื้อปลา ไข่ ผักหรือผลไม้นิ่ม ๆ

ระยะหลังผ่าตัด 29 วันขึ้นไป

ให้ทานเป็นอาหารอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารที่พลังงานสูง ที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เน้นทานโปรตีน เช่น เนื้อปลา ไข่ตุ๋น เนื้อกุ้งและอื่น ๆ ข้าวต้ม ขนมังโฮลวีทปิ้ง ผักหรือผลไม้ที่เคี้ยวง่าย

s5

ระยะยาวหลังผ่าตัด

แนะนำให้รับประทานอาหาร 900-1,000 กิโลแคลลอรี่ต่อวัน ปริมาณโปรตีน 60-80 กรัมต่อวัน ควรแบ่งเป็น 3 มื้อ มื้อหลักและ 2-3 มื้อว่าง

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ปรึกษาแพทย์โดยตรงได้ทาง Line : @doodeecenter

อ.นพ.เสฐียรพงษ์ จันทวิบูลย์